ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
icon : ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ชั้นที่ 2
-

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับคนไทยจำนวนมาก สาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ มีความพร้อมในด้านการให้คำแนะนำ รักษา โดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ และมีระบบการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ใครที่ควรตรวจเบาหวาน?

  1. ผู้ใหญ่ที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) โดยคิดจากดัชนีมวลกาย (body mass index - BMI) ที่มาก กว่า 25 กก./ตร.ม.ในคนอเมริกัน (หรือในยุโรป) และมากกว่า 23 กก./ตร.ม.ในคนเอเซีย ที่มีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย
    • การไม่ออกกำลังกาย
    • ประวัติเบาหวานในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่หรือน้อง เป็นเบาหวาน
    • ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มม.ปรอท หรือรักษาความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว
    • ผู้ที่มีระดับไขมันผิดปกติ คือไขมันเอชดีแอล (HDL - คือไขมันที่ดี) <35 มก/ดล. และ/หรือ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) >250 มก/ดล.
    • ผู้ที่ตรวจเลือดพบว่า A1c >5.7 หรืออยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน (ดูหัวข้อเรื่องภาวะก่อนเบาหวาน)
    • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ (cardiovascular disease)
    • ลักษณะทางคลินิกที่เกิดร่วมกับ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ที่พบได้คือ อ้วนมาก (severe obesity) และภาวะ acanthosis nigricans (เป็นรอยดำ หนา ผิวคล้ำ ขรุขระ บริเวณคอ บางคนเรียกผิวหนังช้าง พบได้บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ โดยเฉพาะในคนที่อ้วนมาก)
    • เชื้อชาติที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อัฟริกันอเมริกัน, ละติน, อินเดียนแดง, ชนกลุ่มหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นต้น
  2. หญิงที่อยู่ในกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome)
  3. อายุ 35 ปีเป็นต้นไป
  4. หญิงที่มีลูกน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม (หรือ 9 ปอนด์) หรือมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
  5. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  6. ผู้ที่มีอาการ ของโรคเบาหวานชัดเจน เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ 

จากเกณฑ์การตรวจคัดกรองเบาหวานนี้ จะเห็นว่า ยึดดัชนีมวลกาย และอายุที่มากกว่า 35 ปีเป็นหลัก ดัชนีมวลกายเป็นอัตราส่วนของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูง คำนวณจากน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง (หรือตารางเมตร) นั่นคือ

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก   (กก.) / (สูง) x (สูง)  (เมตร)

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้คาดคิด คือการไม่ออกกำลังกาย ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดเบาหวาน นอกจากนี้ ที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดผิดปกติ  ถึงแม้ว่าเคยตรวจเลือดแล้วว่ายังไม่เป็นเบาหวานขณะนั้นควรต้องตรวจเบาหวานเป็นระยะ เพราะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ในอนาคต คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือมีโรคร่วมเป็นโรคหัวใจแล้ว โดยเฉพาะมีโรคร่วมกันหลายโรค ควรจะตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงเบาหวานทุกปี เพราะหากมีโรคเบาหวานร่วมด้วย คุณภาพชีวิตหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ในอนาคตจะตามมา

  • ประเมินภาวะความเสี่ยงก่อนการเป็นเบาหวาน
  • วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • ดูแลรักษาและป้องกันผู้ป่วยเบาหวานจากโรคแทรกซ้อน
  • โรคเกี่ยวกับเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
  • โรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์
  • โรคอ้วน

โรคเกี่ยวกับเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

  • โรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์
  • โรคอ้วน

แพ็คเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง

Active Life Check Up สุขภาพดี รับฟรี! อัลตราซาวด์ช่องท้อง
โปรแกรมตรวจความเสี่ยงโรคไทรอยด์ โดยละเอียด
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด CT Chest Low dose

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับโรคไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิด

อีเมล์ : info@ruamjairak.com

หมายเลขโทรศัพท์ : 02-768-9999

77 ซ. สุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260

logo